วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของจังหวัดตราด

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ในดินแดนประเทศไทยที่ปรากฏในปัจจุบันได้ปรากฏร่องรอยอารยธรรมของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งพบจากหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ เป็นเครื่องยืนยันได้ว่ามีมนุษย์ได้มาอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ มาตั้งแต่เมื่อ ๑๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งสันนิษฐานว่ามนุษย์กลุ่มแรก ๆ คงอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ตามถ้ำและเชิงผาใกล้ห้วยลำธาร หรือแม่น้ำ หาเลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์ และเก็บผลไม้เป็นอาหาร บางพวกรู้จักการเพาะปลูกพืชบางชนิด เช่น พืชจำพวกถั่วลันเตา กระจับ เป็นต้น บางพวกมีเครื่องปั้นดินเผาใช้ ใช้เครื่องมือหินกะเทาะที่ทำจากหินกรวด นอกจากนี้ยังรู้จักการนำกระดูกสัตว์และเปลือกหอยมาทำเป็นเครื่องมืออีกด้วย ต่อมาเมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงย้ายถิ่นฐานลงมาสู่ที่ราบและที่ราบเชิงเขา พัฒนาขึ้นเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และทำอาชีพหัตถกรรมต่าง ๆ เช่น จักรสาน ทอผ้า ปั้นภาชนะดินเผา มี การติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนใกล้เคียงและห่างไกล มีประเพณีและพิธีกรรมในการฝังศพ ซึ่งในยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดตราดนี้ สามารถจัดลำดับวิวัฒนาการของมนุษย์ในสมัยนี้โดยแบ่งออกเป็น ๒ สมัย คือ

แหล่งโบราณคดีบ้านท้ายไร่



สถานที่ตั้ง บ้านท้ายไร่ ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตราด หลักฐานที่พบ กลองมโหรทึกค่อนข้างสมบูรณ์ แบบแฮเกอร์ 1 ใบ เส้นผ่าศูนย์กลางหน้ากลางประมาณ 71 เซนติเมตรเส้นผ่าศูนย์กลางตัวกลองประมาณ 83 เซนติเมตร ชิ้นส่วนกำไลสำริด ลูกปัดหินคาร์เนเลียน 15 ลูก เจียระไนเป็นรูปสี่เหลี่ยมตรงกลางป่อง ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ เครื่องมือเหล็ก ประเภทขวานมีบ้อง 1ชิ้น ง้าวมีบ้อง 1 ชิ้น เสียมมีบ้อง 1 ชิ้น


การพบกลองมโหระทึกที่บ้านท้ายไรแสดงให้เห็นถึงการแพร่กระจายของวัฒนธรรมดองซอนในภาคตะวันออกซึ่งมีอายุประมาณ 500-1000 ปีก่อนคริสต์ศักราช

แหล่งโบราณคดีบ้านสามง่าม


สถานที่พบตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตราด หลักฐานที่พบ กลองมโหระทึกสำริดสองใบ ใบแรกสภาพชำรุด ขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง 58.5 เซนติเมตร ใบที่สองมีขนาดเล็กกว่าใบแรก แต่มีรูปร่างแบบเดียวกัน เครื่องมือเครื่องใช้ทำจากเหล็กพบร่วมกับกลองมโหระทึก หลายประเภท ได้แก่ ขวานมีบ้อง สิ่วเหล็ก มีขอหรือ ขวานเหล็ก กำไลและแหวนสำริด และทองเหลือง เศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ 3 ชิ้น ใหปากจู๋ สูง 23 เซนติเมตร และกระปุกดินเผาลายจุดสีน้ำตาล ลูกปัดแก้ว 2 แบบ คือลูกปัดแก้วใสทำเป็นเกลียว และลูกปัดแก้วสีฟ้าทรงลูกมะเฟือง

จากลักษณะรูปแบบของกลองมโหระทึกทั้งสองใบอาจกล่าวได้ว่าเป็นกลองในรูปแบบของดองซอน(Dongson Style)แบบ เฮเกอร์ C มีลักษณะพิเศษที่ลวดลาย เช่นลายซี่หวี ลายวงกลม ที่เรียงเป็นแถวเชื่อมต่อกันด้วยเส้นทะแยงลายที่ระหว่างรัศมีของดาวจัดให้เป็น แบบเก่าที่สุด การพบกลองมโหระทึกที่บ้านสามง่ามนี้แสดงให้เห็นถึงการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมแบบดองซอนในภูมิภาคนี้

3 ความคิดเห็น:

  1. น่าสนใจดีครับ แต่เสียดายของแถวบ้านผมมันเก่าแค่ช่วงรัชกาลที่4-5เอง

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ16 ตุลาคม 2552 เวลา 04:46

    ดีใจครับ ที่มีผู้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านของเราโดยจริงจังอีก1ท่าน
    ผมคิดว่าจริงๆแล้วประวัติศาสตร์เรื่องราวของ จ.ตราดนั้น มีความเป็นมาสำคัญเทียบเท่ากับจันทบุรีเลยทีเดียวแต่ส่วนใหญ่หลักฐานต่างๆจะปรากฏในรัชสมัยของรัชกาลที่5เป็นส่วนใหญ่ ผมดูรายการเสด็จประพาสต้น ได้รับรู้เรื่องราวต่างๆนอกจากที่เคยได้ศึกษาเล่าเรียนอีกมากมาย หลังจากนี้คงจะได้ขอศึกษาเรื่องราวต่างๆจากทางBlock ของคุณเรื่อยๆนะครับ ขอบคุณครับ

    ชัยกร เปรื่องการ ตราด@ปทุมธานี

    ตอบลบ